วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคนิคการนำเสนอ



4.  เทคนิคการำเสนอ  การนำเสนองานในแต่ละประเภทจะมีเทคนิคในการนำเสนองานแตกต่างกัน  เนื่องจากการนำเสนองานแต่ละประเภทจะมีปัจจัยและปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการนำเสนองานงานแตกต่างกัน  โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะต้อเป็นผู้กำหนดปัจจัยและแก้ปัญหาต่าง ๆ คือ  ผู้นำเสนอ  ซึ่งควรมีเทคนิคการนำเสนองาน  ดังนี้
                4.1  การปรับปรุงลักษณะภายนอก  หากการนำเสนองานนั้นผู้นำเสนอจะต้องพบหรือนำเสนองานงานควบคู่ไปกับการใช้สื่อต่าง ๆ ผู้นำเสนอจะต้องแต่งกายสุภาพ  เรียบร้อย  และเหมาะสมกับสถานที่  แต่ถ้าหากการนำเสนองานนั้นกระทำผ่านสื่อหรือโพรโทคอลโดยผู้นำเสนอไม่ต้องพบกับผู้รับข้อมูลโดยตรง  สื่อที่ใช้จะมีบทบาทสำคัญมากและต้องดึงดูดความสนใจของผู้รับข้อมูล
                4.2  การทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูล  เป็นการวิเคราะห์ผู้รับข้อมูลเพื่อให้สามารถเลือกใช้สื่อและโพรโทคอลได้ถูกต้องเหมาะสม  การทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การซักถามและพูดคุยกับผู้รับข้อมูลก่อนนำเสนองาน  การสังเกจลักษณะภายนอกของผู้รับข้อมูลทั้งด้านอายุ  เพศ  ทัศนคติ  การสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับผู้รับข้อมูลหรือผู้จัดการนำเสนอ
                4.3   การรักษาเวลา  เวลาในการนำเสนองานเป็นสิ่งสำคัญ  ทั้งการนำเสนองานด้วยตนเองและการนำเสนองานผ่านสื่อ  โดยผู้นำเสนอควรไปในสถานที่ที่ต้องนำเสนองานก่อนเวลา 5 – 10 นาที  ทั้งนี้เพื่อลดความตื่นเต้น  ตรวจสอบงาน  ทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูล  และเตรียมความพร้อมของตนเอง  นอกจากนี้ผู้นำเสนอจะต้องรักษาเวลาในการนำเสนองานให้ตรงตามกำหนดการ  ผู้นำเสนอควรนำเสนองานด้วยวิธีที่เหมาะสม  ไม่นำเสนองานนานเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่าย  และไม่นำเสนองานด้วยเวลาที่น้อยเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลไม่เข้าใจงานที่นำเสนอ
                4.4   การฝึกฝนก่อนนำเสนอจริง  เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้นำเสนอ  ประมาณเวลาที่ใช้ในการนำเสนองาน  และทำให้รู้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการนำเสนอจริง  การฝึกฝนก่อนการนำเสนอจริง  ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนอย่างจริงจังและมีผู้รับข้อมูลเพื่อคอยแนะนำวิธีการนำเสนองานนั้น ๆ แต่ถ้าการนำเสนอนั้นกระทำผ่านสื่อต่าง ๆ ผู้นำเสนอจะต้องตรวจสอบก่อนนำไปใช้จริง
                4.5  การใช้ภาษา  ผู้นำเสนอจะต้องเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้รับข้อมูลโดยเอกใช้คำง่าย ๆ สื่อความหมายได้ชัดเจน  หากเป็นการนำเสนอด้วยการพูด  ควรพูดด้วยเสียงดัง  ฟังชัด  มีการใช้น้ำเสียงสูงและต่ำสลับกันไปตามความสำคัญของเนื้อหาที่นำเสนอ  ไม่ควรนำเสนอด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ เป็นโทนเดียวกัน  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่ายและไม่เข้าใจประเด็นสำคัญในการนำเสนองานนั้น  หากเป็นการนำเสนอผ่านสื่อก็ควรมีการเน้นข้อความ  มีการกำหนดหัวข้อหลัก  หัวข้อรองที่เหมาะสมและสอดคล้องกับงานที่นำเสนอ
                4.6  การสร้างความสนใจ  ในการนำเสนองานที่ใช้เวลานาน  ผู้นำเสนอจะต้องหาวิธีสร้างความสนใจสลับในเนื้อหา  เพื่อไม่ให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่าย  เช่น  ยกตัวอย่างข้อมูลของงานนนำเสนอที่เกี่ยวข้องการผู้รับข้อมูล  สอกแทรกอารมณืขัน  เปรียบเทียบเนื้อหากับสถานการณ์ในปัจจุบัน  นอกจากนี้ในขณะที่พูดนำเสนอจะต้องมอหน้าและสบตากับผู้รับข้อมูลอย่างเป็นมิตร  ยิ้มแย้ม  แสดงทัศนคติบวก  มีการเคลื่อนที่หรือแสดงท่าทางประกอบการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสม  หากเป็นการนำเสนองานผ่านสื่อจะต้องมีการใช้ภาพ  เสียง  หรือมัลติมีเดียต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับข้อมูล
                4.7  การตอบคำถาม  เมื่อผู้รับข้อมูลมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอและต้องการซักถาม  ผู้นำเสนอจะต้องฟังคำถามให้จบ  ไม่สอดแทรกหรือขัดจังหวะผู้ถาม  กล่าวขอบุณผู้ถามที่ถามคำถามดังกล่าว  และตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในทางบวกต่อคำถามนั้น  หากพบคามที่ไม่สามารถตอบได้  ก็ควรแสดงความสนใจและรับที่จะค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามนั้นในภายหลัง
                4.8  การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม  จัดเป็นเทคนิคสำคัญต่อการนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีความสามารถในการใช้สื่อและทดลองใช้สื่อนั้นๆ ก่อนการนำเสนองานจริง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น