วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

บทเรียนคอมพิวเตอร์ออนไลน์ เรื่อง การนำเสนอ


การนำเสนอ
บล็อกนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นบนเรียนบทเว็บวิชา  เทคโนโลยีสารสนเทศ  เรื่อง  การนำเสนอ  
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนบ้านห้วยปลาโดศรีสามารถ











             

ประเภทการนำเสนอ


1  การบรรยายสรุป (Briefing) เป็นการนำเสนอด้วยวิธีการอธิบายสถานการณ์  มีการแดงข้อเท็จจริง  และยกตัวอย่างเพื่อสนับสนุนงานนั้น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับข้อมูลเชื่อ คล้อยตาม ชื่นชม  และสนับสนุนงานที่นำเสนอ  ตัวอย่างการบรรยายสรุป  เช่น  การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน  การปราศรัยของนักการเมือง

                2  การนำเสนอ (Proposal)  เป็นการนำเสนอความคิด  แผนงาน  โครงการ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขออนุมัติ  ขอความเห็นชอบ  และให้ผู้ระบข้อมูลปฏิบัติตามสิ่งที่นำเสนอ  ตัวอย่างการนำเสนอ  เช่น  การสาธิตวิธีการประกอบอาหารผ่านรายการโทรทัศน์  การโฆษณาสินค้า

                3  การฝึกอบรม (Training)  เป็นการนำเสนอความรู้  ความเข้าใจ   และทัศนคติ  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับข้อมูลมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง  เช่น  การสอนของครูหน้าชั้นเรียน  การอบรมการใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีนำเสนอประเภทซอฟต์แวร์


ซอฟแวร์ (Software)  คือ  กระบวนการทำงานหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถจับต้องได้  ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยตนเอง  เพื่อใช้ถ่ายทอดงานไปสู่ผุ้รับข้อมูล  ซอฟแวร์แต่ละประเภทจะนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสำหรับนำเสนองานแตกต่างกัน  โดยในหน่วยการเรียนรู้นี้ยกตัวอย่างซอฟแวร์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับซอฟแวร์ระบบของบริษัทไมโครซอฟท์  ซึ่งผู้นำเสนอไม่ต้องติดตั้งซอฟแวร์อื่นๆ เพิ่มเติม  เช่น
                1.  Windows  Picture  and  Fax  Viewer  เป็นซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอภาพนิ่ง
                2.  Windows  Media  Player  เป็นซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอเสียง  ภาพเคลื่อนไหวหรือมัลติมีเดีย
                3.  Internet  Explore  เป็นซอฟแวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอเว็บไซต์บนอินเตอร์เน็ต

เทคโนโลยีนำเสนอประเภทฮาร์ดแวร์


ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  คือ  เครื่องมือ  อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์  หรืออุปกรณืคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่สามารถจับ  ต้องได้  ฮาร์แวร์แต่ละประเภทจะมีลักษณะและเหมาะสำหรับงานนำเสนองานต่างกัน  ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการนำเสนองาน  เช่น
                1.  เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะหรือเครื่องฉายภาพโปร่งใส (Overhead  Projector)  เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำเสนอได้โดไม่ต้องรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์  มีลักษณะการทำงานแบบอะนาล็อก (Analog)  โดยอาศัยหลักการหักเหของแสง  ช่วยรำเสนอข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรและภาพนิ่งที่ต้องควบคุมการเปลี่ยนข้อมูลโดยผู้นำเสนอจึเหมาะสำหรับใช้ประกอบคำบรรยาย  โดยผู้นำเสนอจะต้องเขียนหรือพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการนำเสนอแผ่นโปร่งใส  เปิดเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ  แล้วนำแผ่นโปร่งใสวางบนแท่นกระจก  เพื่อให้แสงทะลุผ่านแผ่นโปร่งใสจนเกิดเงาบนฉากหลังแบบ  2  มิติ  ปัจจุบันเครื่งฉายภาพข้ามศรีษะไม่นิยมใช้ในการนำเสนองานมากนัก  เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มากขึ้น
                2.  เครื่องฉายภาพ  3  มิติ (Digital  Visualizer)  พัฒนาการมาจากเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะและเครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque  Projector) ทำให้เกิดความสะดวกในการนำเสนองานที่เป็นวัตถุ  3  มิติ  โดยไม่ต้องถ่ายภาพวัตถุนั้นไปทำเป็นแผ่นโปร่งใสก่อนนำเสนอ  บางรุ่นไม่มีถาดรองวัตถุเพื่อให้ฉายวัตถุขนาดใหญ่มากๆ ได้  การใช้งานเครื่องฉายภาพ  3  มิติลงบนถาดรองวัตถุหรือเชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์  เพื่อแสดงข้อมูลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว  ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกัน
                3.  จอภาพ (Monitor) ใช้สำหรับเสนองานที่ได้รับจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์  เวลาใช้งานจะต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เสมอ  เหมาะสำหรับงานนนำเสนอแบบหนึ่งต่อหนึ่ง  คือ  มีผู้รับข้อมูล  1  คนต่องานนำเสนอ  1  งาน  มีข้อดีที่สามารถตอยสนองต่อการรับข้อมูลของผู้รับข้อมูลได้ดี  เนื่องจากผู้รับข้อมูลสามารถกำหนดการนำเสนองานได้ด้วยตนเองผ่านทางคอมพิวเตอร์   ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบและความละเอียดในการนำเสนองาน  จอภาพบางชนิด  สามารถรับข้อมูลจากผู้รับข้อมูลได้โดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลอื่นๆ เราเรียกจอภาพลักษณะนี้ว่า  จอภาพแบบสัมผัส

จอภาพวีจีเอ

จอภาพแบบก๊าซพลาสมา

                4.  โพรเจกเตอร์  (Projector)  เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำเสนองานในรูปแบบของตัวอักษร  ภาพ  และภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับการนำเสนอด้วยจอภาพ  ฉตโพนเจกเตอร์จะขยายสัญญาณที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ไปฉายบนฉากหลังที่มีลักษณะเป็ยจอภาพนาดใหญ่  โพรเจกเตอร์แบ่งเป็น  2  ประเภท  ได้แก่  แอลซีดีโพรเจกเตอร์และดีแอลพีโพรเจกเตอร์
                                4.1   แอลซีดีโพรเจกเตอร์ (LCD : Liquid  Crystal  Display  Projector) เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบอาล็อก  โดบมีหลักการทำงานเมื่อรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์แล้วจะส่องแสงผ่านของเหลวเพื่อตกกระทบกับแผ่นกระจกสีแดง  สีเขียว  และสีน้ำเงินทำให้เกิดข้อมูลส่งไปฉายบนฉากหลัง  แอลซีดีโพรเจกเตอร์มีขนาดใหญ่  เนื่อจากขณะใช้งานจะมีความร้อนสะสม  จึงต้องติดตั้งพัดลมเพื่อระบายความร้อน  ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นและดูแลรักษาได้ยากกว่าดีแอลพีโพรเจกเตอร์
                                4.2  ดีแอลพีโพรเจกเตอร์ (DLP : Digital  Light  Processing  Projector)  เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบดิจิทัล (Digital) พัฒนามาจากแอลซีดีโพรเจกเตอร์  โดยใช้ชิปที่ประกอยด้วยกระจกขนาดเล็กหลายๆ ชิ้น  แต่ละชิ้นแทนพิกเซลที่เป็นส่วนประกอบของภาพ  เมื่อได้รับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์  กระจกขนาดเล็กแต่ละชิ้นจะเอียงเป็นมุมตกกระทบต่อแสงอย่างอิสระ  ผ่านแผ่นกระจกสีเขียว  สีแดง  และสีน้ำเงินที่หมุนด้วยความเร็วสูง  แล้วประมวลผลจนทำให้เกิดข้อมูลฉายไปยังฉากหลัง  ข้อมูลที่ได้จึงมีความละเอียด  สมจริง  นอกจากนี้ดีแอลพีโพรเจกเตอร์จะมีขนาดเล็ก  น้ำหนักเบา  แต่ราคาแพงกว่าแอลซีดีโพรเจกเตอร์
                โพรเจกเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบนสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ  3  มิติหรือฮอโลแกรม (Hologram)  ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลเสมือนจริง  แต่ยังไม่นิยมใช้มากนัก  เนื่องจากมีราคาสูงและมีข้อจำกัดในการนำเสนอข้อมูล

                5.  ลำโพง (Speaker)  จอภาพและโพรเจกเตอร์ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเสียงได้  ดังนั้นหากผู้นำเสนองานที่มีเสียงประกอบหรือมัลติมีเดีย  ผู้นำเสนอจะต้องเชื่อมต่ลำโพงกับคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม  ลำโพงเหมาะสำหรับการนำเสนองานกับผั้บข้อมูลจำนวนมาก  แต่หากเป็นงานนำเสนอที่มีผู้รับข้อมูลเพียงคนเดียวจะนิยมใช้หูฟัง (Earphone)  แทนลำโพง

รูปแบบของงานนำเสนอประเภทไฟล์อิเล็กทรอนิกส์


8  ไฟลล์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นรูปแบบการนำเสนองานที่พัฒนามาจากสิ่งพิมพ์  รวมถึงงานรูปแบบอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์  เช่น  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  ปัจจุบันงานหรือข้อมูลเหล่านั้นจะถูกแปลงให้อยู่ในลักษณะของไฟลล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ทำให้สามารถเก็บรักษา  คัดลอก  เปลี่ยนแปลง  ตกแต่ง หรือกระทำการใดๆ ได้ง่าย  สะดวก  และรวดเร็วยิ่งขึ้น  ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนำเสนอข้อมูลได้แทบทุกประเภท (ปัจจุบันไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถนำเสนอข้อมูลกลิ่นและความรู้สึกได้  แต่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาและสามารถทำได้ในอนาคตอันใกล้นี้)  ปัจจุบันไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเท่าสิ่งพิมพ์  เนื่องจากไม่สามารถจับต้องได้  และปรับเปลี่ยนข้อมูลจากผู้ใดก็ได้  การใช้งานนำเสนอในรูปแบบนี้  ผู้นำเสนอจะต้องมีความรู้ในการสร้างและการนำเสนองานในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย  ตัวอย่างการนำเสนอในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์  เช่น  เอกสารอิเล็กทรอนิกส์  เว็บไซต์  คลิปเสีย  คลิปวิดีโอ
                ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์จะถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบของข้อมูลดิจิทัล  โดยจะสร้างหรือจัดการกับไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางคอมพิวเตอร์  ซึ่งงานนำเสนอรูปแบบนี้จะแสดงลักษณะผ่านทางไอคอนนั้นๆ

ตัวอย่างไอคอนไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทเอกสาร

ตัวอย่างไอคอนไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทรูปภาพ

รูปแบบของงานนำเสนอประภเทสิ่งพิมพ์


8  สิ่งพิมพ์  เป็นรูปแบบของงานนำเสนอที่นิยมใช้มากที่สุด  เนื่องจากสามารถสร้างและนำไปใช้ได้ง่าย  ผู้รับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้ทุกที่  ทุกเวลา  โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีใดๆ ช่วยในการรับข้อมูล  จับต้องและแก้ไขได้ยาก  สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร  ข้อความ  กราฟ  แผนผัง  ตาราง  และภาพนิ่งได้  ตัวอย่างงานนำเสนอที่เป็นสิ่งพิมพ์  เช่น  เอกสาร  รายงาน  บัตรอวยพร  ใบปลิว  นามบัตร  หนังสือ  รูปภาพ  ใบประกาศ

หลักการนำเสนอ




  การนำเสนอ (present)  คือ  การถ่ายทอดข้อมูลจากผู้นำเสนอไปยังผู้รับข้อมูลด้ววิธีการต่าง ๆ     การนำเสนอมักมีจุดประสงค์ในการถ่ายทอดข้อมูลที่ชัดเจนกว่าการสื่อสารโดยทั่วไป  และผู้นำเสนอจะมีบทบาทต่อการนำเสนอมากกว่าผู้รับข้อมูล  เนื่องจากการำนเสนอส่วนใหญ่มักเป็นการสื่อสารทิศทางเดียว (Simple  Transmission)

                หลักการนำเสนองาน
                การนำเสนองานเป็นการนำเสนอข้อมูล  ชิ้นงาน  ผลงาน  หรือสิ่งต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอที่ชัดเจน  ตัวอย่างการนำเสนองาน  เช่น
©    การนำเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ผ่านป้ายนิเทศ
©    การนำเสนอเทคนิคการพูดผ่านการสัมมนา
©    การนำเสนอสินค้าผ่านเว็บไซต์
©    การนำเสนอความรู้ผ่านซีเอไอ
©    การนำเสนอความคิดเห็นหน้าชั้นเรียน
ผู้นำเสนอจะต้องศึกษาองค์ประกอบ  ประเภท  ขั้นตอน  และเทคนิคการนำเสนองาน  เพื่อให้สามารถนำเสนองานตรงตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีที่ใช้ในการนำเสนอ





ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการสร้างและนำเสนองานมากขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์  ซึ่งมีบทบาทต่อการนำเสนองานให้น่าสนใจและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น   เทคโนโลยีใช้ในการนำเสนองานมีทั้งรูปแบบที่ผู้เสนอใช้ประกอบการนำเสนองาด้วยตนเอง และรูปแบบที่ผู้นำเสนอสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้รับข้อมูลนำไปใช้ได้ด้วยตนเอง  เทคโนโลยีที่ใช้ในการนำเสนองานสามารถแบ่งตามองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ได้  2  ประเภท  คือ  ฮาร์แวร์และซอฟแวร์  โดยผู้นำเสนอจะต้องใช้ทั้งฮาร์แวร์และซอฟแวร์ประกอบกัน  เพื่อถ่ายทอดงานให้แก่ผู้รับข้อมูล






รูปแบบของงานนำเสนอ



การนำเสนองานสามารถทำได้หลายรูปแบบ  แต่ละรูปแบบมีจุดเนและจุดด้อยแตกต่างกัน  ผู้นำเสนอจึงควรพิจารณาเลือกใช้งานนำเสนอ  ดังนี้
                J  รูปแบบของงานที่ต้องการนำเสนอ  เช่น  ตัวหนังสือ  ภาพนิ่ง  ภาพเคลื่อนไหว  เสียง  มัลติมีเดีย  งานนำเสนอบางรูปแบบสามารถนำเสนอข้อมูลได้เฉพาะตัวหนังสือและภาพนิ่ง  แต่ไม่สามารถภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้
                J  ความรู้และความสามารถของผู้นำเสนอ  การนำเสนองานในรูปแบบที่ผู้นำเสนอสามารถสร้างและเสนอได้อย่างมีคุณภาพย่อมส่งผลให้การนำเสนองานประสบความสำเร็จมากกว่าการเลือกนำเสนองานในรูปแบบที่ทันสมัย  สวยงาม  น่าสนใจ  แต่ผู้นำเสนอไม่สามารถนำเสนอนั้นได้
                J  การใช้สื่อในการนำเสนองาน  ผ้ำเสนอควรพิจารณาเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอที่มีสื่อในการนำเสนองานนั้นๆ อยู่แล้ว  เช่น  ผู้นำเสนอควรเลือกนำเสนองานในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์   เนื่องจากมีเครื่องพิมพ์อยู่แล้ว
                J  ลักษณะของผู้รับข้อมูล  เป็นการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้รับข้อมูล  เช่น  ผู้รับข้อมูลเป็นกลุ่มบุคคลที่นิยมใช้อินเตอร์เน็ตก็ควรเลือกนำเสนองานในรูปแบบของเว็บไซต์
                J  ความน่าเชื่อถือของงาน  รูปแบบของงานนำเสนอที่ได้รับการยอมรับว่าน่าเชื่อถือมากที่สุด  คือ  เอกสารสิ่งพิมพ์  เนื่อวจากแก้ไขยากและจับต้องได้จริง  ส่วนรูปแบบของงานนำเสนอที่ขาดความน่าเชื่อถือมากที่สุด  คือ  เว็บไซต์  เนื่องจากผู้ใช้คนอื่นๆ  สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลของงานนั้นๆ ได้

                รูปแบบของงงานที่นำเสนอที่นิยมใช้มากในปัจจุบันแบ่งเป็น  2  ประเภท  คือ  สิ่งพิมพ์และไฟล์อิเล็กทรอนิกส์  








เทคนิคการนำเสนอ



4.  เทคนิคการำเสนอ  การนำเสนองานในแต่ละประเภทจะมีเทคนิคในการนำเสนองานแตกต่างกัน  เนื่องจากการนำเสนองานแต่ละประเภทจะมีปัจจัยและปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการนำเสนองานงานแตกต่างกัน  โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะต้อเป็นผู้กำหนดปัจจัยและแก้ปัญหาต่าง ๆ คือ  ผู้นำเสนอ  ซึ่งควรมีเทคนิคการนำเสนองาน  ดังนี้
                4.1  การปรับปรุงลักษณะภายนอก  หากการนำเสนองานนั้นผู้นำเสนอจะต้องพบหรือนำเสนองานงานควบคู่ไปกับการใช้สื่อต่าง ๆ ผู้นำเสนอจะต้องแต่งกายสุภาพ  เรียบร้อย  และเหมาะสมกับสถานที่  แต่ถ้าหากการนำเสนองานนั้นกระทำผ่านสื่อหรือโพรโทคอลโดยผู้นำเสนอไม่ต้องพบกับผู้รับข้อมูลโดยตรง  สื่อที่ใช้จะมีบทบาทสำคัญมากและต้องดึงดูดความสนใจของผู้รับข้อมูล
                4.2  การทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูล  เป็นการวิเคราะห์ผู้รับข้อมูลเพื่อให้สามารถเลือกใช้สื่อและโพรโทคอลได้ถูกต้องเหมาะสม  การทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การซักถามและพูดคุยกับผู้รับข้อมูลก่อนนำเสนองาน  การสังเกจลักษณะภายนอกของผู้รับข้อมูลทั้งด้านอายุ  เพศ  ทัศนคติ  การสอบถามผู้เกี่ยวข้องกับผู้รับข้อมูลหรือผู้จัดการนำเสนอ
                4.3   การรักษาเวลา  เวลาในการนำเสนองานเป็นสิ่งสำคัญ  ทั้งการนำเสนองานด้วยตนเองและการนำเสนองานผ่านสื่อ  โดยผู้นำเสนอควรไปในสถานที่ที่ต้องนำเสนองานก่อนเวลา 5 – 10 นาที  ทั้งนี้เพื่อลดความตื่นเต้น  ตรวจสอบงาน  ทำความรู้จักกับผู้รับข้อมูล  และเตรียมความพร้อมของตนเอง  นอกจากนี้ผู้นำเสนอจะต้องรักษาเวลาในการนำเสนองานให้ตรงตามกำหนดการ  ผู้นำเสนอควรนำเสนองานด้วยวิธีที่เหมาะสม  ไม่นำเสนองานนานเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่าย  และไม่นำเสนองานด้วยเวลาที่น้อยเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลไม่เข้าใจงานที่นำเสนอ
                4.4   การฝึกฝนก่อนนำเสนอจริง  เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้นำเสนอ  ประมาณเวลาที่ใช้ในการนำเสนองาน  และทำให้รู้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในการนำเสนอจริง  การฝึกฝนก่อนการนำเสนอจริง  ผู้นำเสนอจะต้องฝึกฝนอย่างจริงจังและมีผู้รับข้อมูลเพื่อคอยแนะนำวิธีการนำเสนองานนั้น ๆ แต่ถ้าการนำเสนอนั้นกระทำผ่านสื่อต่าง ๆ ผู้นำเสนอจะต้องตรวจสอบก่อนนำไปใช้จริง
                4.5  การใช้ภาษา  ผู้นำเสนอจะต้องเลือกใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้รับข้อมูลโดยเอกใช้คำง่าย ๆ สื่อความหมายได้ชัดเจน  หากเป็นการนำเสนอด้วยการพูด  ควรพูดด้วยเสียงดัง  ฟังชัด  มีการใช้น้ำเสียงสูงและต่ำสลับกันไปตามความสำคัญของเนื้อหาที่นำเสนอ  ไม่ควรนำเสนอด้วยน้ำเสียงเรียบ ๆ เป็นโทนเดียวกัน  เพราะจะทำให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่ายและไม่เข้าใจประเด็นสำคัญในการนำเสนองานนั้น  หากเป็นการนำเสนอผ่านสื่อก็ควรมีการเน้นข้อความ  มีการกำหนดหัวข้อหลัก  หัวข้อรองที่เหมาะสมและสอดคล้องกับงานที่นำเสนอ
                4.6  การสร้างความสนใจ  ในการนำเสนองานที่ใช้เวลานาน  ผู้นำเสนอจะต้องหาวิธีสร้างความสนใจสลับในเนื้อหา  เพื่อไม่ให้ผู้รับข้อมูลเกิดความเบื่อหน่าย  เช่น  ยกตัวอย่างข้อมูลของงานนนำเสนอที่เกี่ยวข้องการผู้รับข้อมูล  สอกแทรกอารมณืขัน  เปรียบเทียบเนื้อหากับสถานการณ์ในปัจจุบัน  นอกจากนี้ในขณะที่พูดนำเสนอจะต้องมอหน้าและสบตากับผู้รับข้อมูลอย่างเป็นมิตร  ยิ้มแย้ม  แสดงทัศนคติบวก  มีการเคลื่อนที่หรือแสดงท่าทางประกอบการนำเสนอข้อมูลที่เหมาะสม  หากเป็นการนำเสนองานผ่านสื่อจะต้องมีการใช้ภาพ  เสียง  หรือมัลติมีเดียต่าง ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้รับข้อมูล
                4.7  การตอบคำถาม  เมื่อผู้รับข้อมูลมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอและต้องการซักถาม  ผู้นำเสนอจะต้องฟังคำถามให้จบ  ไม่สอดแทรกหรือขัดจังหวะผู้ถาม  กล่าวขอบุณผู้ถามที่ถามคำถามดังกล่าว  และตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นในทางบวกต่อคำถามนั้น  หากพบคามที่ไม่สามารถตอบได้  ก็ควรแสดงความสนใจและรับที่จะค้นหาข้อมูลมาตอบคำถามนั้นในภายหลัง
                4.8  การเลือกใช้สื่อที่เหมาะสม  จัดเป็นเทคนิคสำคัญต่อการนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีความสามารถในการใช้สื่อและทดลองใช้สื่อนั้นๆ ก่อนการนำเสนองานจริง








ขั้นตอนในการนำเสนอ


3.  ขั้นตอนในการนำเสนอ  ผู้นำเสนอควรปฏิบัติตามขั้นตอนในการนำเสนองาน  ดังนี้
                3.1  ขั้นเตรียมตัว  เป็นขั้นตอนที่ผู้นำเสนอต้องเตรียมตนเองให้พร้อม  ทำความเข้าใจกับงานที่จะนำเสนอ  ตั้งวัตถุประสงค์ในการนำเสนองาน  วิเคราะห์ผู้รับข้อมูล  สร้างหรือเลือกใช้สื่อและโพรโตคองก่อนนำเสนองาน
                3.2  ขั้นนำเสนอ  เป็นขั้นตอนในการถ่ายทอดข้อมูลให่แก่ผู้รับข้อมูล  การนำเสนองานสามารถทำได้  2  แนวทาง  ได้แก่  การนำเสนองานกับผู้รับข้อมูลโดยตรง  ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องนำเสนองานกับผู้รับข้อมูลโดยใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการนำเสนองาน  และอีกแนวทางหนึ่ง  คือ  การนำเสนองานผ่านสื่อต่าง ๆ ซึ่งผู้นำเสนอจะไม่ได้พบกับผู้รับข้อมูลโดยตรง  แต่จะนำเสนอผ่านสื่อประเภทต่าง ๆ แทน  การนำเสนองานในขั้นตอนนี้ยังแบ่งเป็นขั้นตอนย่อยได้ดังนี้






องค์ประกอบการนำเสนอ


1.  องค์ประกอบในการนำเสนองาน แบ่งออกเป็น  5  องค์ประกอบ  ดังนี้
1.1  ผู้นำเสนอ  เป็นผู้ที่มีบทบามสำคัญที่สุดในการนำเสนอ  ผู้นำเสนอที่ดีจะต้องวิเคราะห์ผู้รับข้อมูล  ศึกษางานหรือข้อมูลนั้น  ตลอดจนสร้างหรือเอกใช้สื่อและโพรโตคอลที่มีคุณภาพ  เพื่อให้การนำเสนองานนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
                1.2  ผู้รับข้อมูล  เป็นผู้รับข้อมูลจากผู้นำเสนอ  ถ้ามีการนำเสนอที่ดีผู้รับข้อมูลจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ผู้นำเสนอต้องการ
                1.3  งาน  เป็นสิ่งที่ผู้นำเสนอต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้รับข้อมูลผ่านสื่อและโพรโตคอลต่าง ๆ
                1.4  สื่อ  เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะนำข้อมูลต่าง ๆ ไปยังผู้รับข้อมูล  สื่อพื้นฐานในการนำเสนองาน  คือ  อากาศ  เช่น  การนำเสนอสินค้าของพนักงานด้วยการพูดคุยกับผู้ซื้อสินค้า  ปัจจุบันสื่อที่ใช้ในการนำเสนอมีพัฒนาการมากขึ้นด้วยการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วย  เช่น  การนำเสนอสินค้าผ่านทางข้อความในโทรศัพท์เคลื่อนที่
                1.5  โพรโตคอล  เป็นวิธีการที่ผู้นำเสนอใช้ถ่ายทอดงานให้แก่ผู้รับข้อมูล  โพรโตคอลมีทั้งแบบเฉพาะเจาะจง  คือ  ผู้รับข้อมูลจะรับข้อมูลจากการนำเสนองานนั้นโดยตรง  เช่น  การเข้าร่วมสัมมนา  การอบรม  การใช้เว็บไซต์ส่งเสริมการศึกษา  และโพตโตคอลแบบไม่เฉพาะเจาะจง  คือ  โพรโตคอลที่ผู้นำเสนอแฝงข้อมูลที่ต้องการนำเสนอไว้ในสื่ออื่น ๆ และผู้รับข้อมูลไม่ตั้งใจที่จะรับข้อมูลนั้น  แต่ถูกผู้นำเสนอโน้มน้าวให้เกิดตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนองานนั้น  เช่น  การโฆษณาสินค้าในรูปแบบต่าง ๆ


องค์ประกอบในการนำเสนอ