ฮาร์ดแวร์
(Hardware) คือ เครื่องมือ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรืออุปกรณืคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่สามารถจับ ต้องได้ ฮาร์แวร์แต่ละประเภทจะมีลักษณะและเหมาะสำหรับงานนำเสนองานต่างกัน ตัวอย่างฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนการนำเสนองาน เช่น
1. เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะหรือเครื่องฉายภาพโปร่งใส
(Overhead Projector)
เป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำเสนอได้โดไม่ต้องรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ มีลักษณะการทำงานแบบอะนาล็อก (Analog)
โดยอาศัยหลักการหักเหของแสง
ช่วยรำเสนอข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรและภาพนิ่งที่ต้องควบคุมการเปลี่ยนข้อมูลโดยผู้นำเสนอจึเหมาะสำหรับใช้ประกอบคำบรรยาย
โดยผู้นำเสนอจะต้องเขียนหรือพิมพ์ข้อมูลที่ต้องการนำเสนอแผ่นโปร่งใส เปิดเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ แล้วนำแผ่นโปร่งใสวางบนแท่นกระจก
เพื่อให้แสงทะลุผ่านแผ่นโปร่งใสจนเกิดเงาบนฉากหลังแบบ 2 มิติ
ปัจจุบันเครื่งฉายภาพข้ามศรีษะไม่นิยมใช้ในการนำเสนองานมากนัก
เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มากขึ้น
2. เครื่องฉายภาพ 3 มิติ (Digital Visualizer)
พัฒนาการมาจากเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะและเครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector)
ทำให้เกิดความสะดวกในการนำเสนองานที่เป็นวัตถุ
3 มิติ
โดยไม่ต้องถ่ายภาพวัตถุนั้นไปทำเป็นแผ่นโปร่งใสก่อนนำเสนอ บางรุ่นไม่มีถาดรองวัตถุเพื่อให้ฉายวัตถุขนาดใหญ่มากๆ
ได้ การใช้งานเครื่องฉายภาพ 3
มิติลงบนถาดรองวัตถุหรือเชื่อมต่อกับกล้องจุลทรรศน์ เพื่อแสดงข้อมูลภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานร่วมกัน
3. จอภาพ (Monitor) ใช้สำหรับเสนองานที่ได้รับจากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เวลาใช้งานจะต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เสมอ เหมาะสำหรับงานนนำเสนอแบบหนึ่งต่อหนึ่ง คือ
มีผู้รับข้อมูล 1 คนต่องานนำเสนอ 1 งาน
มีข้อดีที่สามารถตอยสนองต่อการรับข้อมูลของผู้รับข้อมูลได้ดี เนื่องจากผู้รับข้อมูลสามารถกำหนดการนำเสนองานได้ด้วยตนเองผ่านทางคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีการพัฒนาจอภาพอย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบและความละเอียดในการนำเสนองาน จอภาพบางชนิด
สามารถรับข้อมูลจากผู้รับข้อมูลได้โดยไม่ต้องผ่านอุปกรณ์รับข้อมูลอื่นๆ
เราเรียกจอภาพลักษณะนี้ว่า จอภาพแบบสัมผัส
จอภาพวีจีเอ
จอภาพแบบก๊าซพลาสมา
4. โพรเจกเตอร์ (Projector)
เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำเสนองานในรูปแบบของตัวอักษร ภาพ
และภาพเคลื่อนไหวเหมือนกับการนำเสนอด้วยจอภาพ
ฉตโพนเจกเตอร์จะขยายสัญญาณที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ไปฉายบนฉากหลังที่มีลักษณะเป็ยจอภาพนาดใหญ่ โพรเจกเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท
ได้แก่
แอลซีดีโพรเจกเตอร์และดีแอลพีโพรเจกเตอร์
4.1 แอลซีดีโพรเจกเตอร์ (LCD : Liquid Crystal
Display Projector) เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบอาล็อก
โดบมีหลักการทำงานเมื่อรับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์แล้วจะส่องแสงผ่านของเหลวเพื่อตกกระทบกับแผ่นกระจกสีแดง สีเขียว
และสีน้ำเงินทำให้เกิดข้อมูลส่งไปฉายบนฉากหลัง แอลซีดีโพรเจกเตอร์มีขนาดใหญ่ เนื่อจากขณะใช้งานจะมีความร้อนสะสม จึงต้องติดตั้งพัดลมเพื่อระบายความร้อน ทำให้มีอายุการใช้งานสั้นและดูแลรักษาได้ยากกว่าดีแอลพีโพรเจกเตอร์
4.2 ดีแอลพีโพรเจกเตอร์ (DLP
: Digital Light Processing
Projector) เป็นเทคโนโลยีในรูปแบบดิจิทัล
(Digital) พัฒนามาจากแอลซีดีโพรเจกเตอร์ โดยใช้ชิปที่ประกอยด้วยกระจกขนาดเล็กหลายๆ
ชิ้น
แต่ละชิ้นแทนพิกเซลที่เป็นส่วนประกอบของภาพ เมื่อได้รับสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ กระจกขนาดเล็กแต่ละชิ้นจะเอียงเป็นมุมตกกระทบต่อแสงอย่างอิสระ ผ่านแผ่นกระจกสีเขียว สีแดง
และสีน้ำเงินที่หมุนด้วยความเร็วสูง
แล้วประมวลผลจนทำให้เกิดข้อมูลฉายไปยังฉากหลัง ข้อมูลที่ได้จึงมีความละเอียด สมจริง
นอกจากนี้ดีแอลพีโพรเจกเตอร์จะมีขนาดเล็ก
น้ำหนักเบา แต่ราคาแพงกว่าแอลซีดีโพรเจกเตอร์
โพรเจกเตอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนปัจจุบนสามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบ 3 มิติหรือฮอโลแกรม (Hologram)
ที่มีลักษณะเป็นข้อมูลเสมือนจริง
แต่ยังไม่นิยมใช้มากนัก
เนื่องจากมีราคาสูงและมีข้อจำกัดในการนำเสนอข้อมูล
5. ลำโพง (Speaker)
จอภาพและโพรเจกเตอร์ไม่สามารถนำเสนอข้อมูลในรูปแบบเสียงได้
ดังนั้นหากผู้นำเสนองานที่มีเสียงประกอบหรือมัลติมีเดีย
ผู้นำเสนอจะต้องเชื่อมต่ลำโพงกับคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม ลำโพงเหมาะสำหรับการนำเสนองานกับผั้บข้อมูลจำนวนมาก
แต่หากเป็นงานนำเสนอที่มีผู้รับข้อมูลเพียงคนเดียวจะนิยมใช้หูฟัง (Earphone) แทนลำโพง